Wednesday, October 22, 2014

หน่วยความจำ (RAM)




วิดีโอเรื่องหน่วยความจำ

     RAM  ย่อมาจาก (Random Access  Memory)  เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น  หน่วยความจำชนิดนี้อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควรโดยคำว่าเข้าถึงโดยสุ่มหมายความว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลแต่ละตำแหน่งได้เร็วเท่าๆกัน ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดของความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรมอาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงานหรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลงเนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น(หน่วยความจำชั่วคราว)หน่วยเรียกของแรมเป็น “กิกกะไบต์” ปัจจุบันแรมถูกพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากมีหลายรุ่นหลายแบบ ที่นิยมใช้จะได้แก่ SDRAM,DDR-RAM, RDRAM มีขนาดตั้งแต่ 64เมกกะไบต์ถึง 4 กิกกะไบต์



หน้าที่และประโยชน์ของ RAM



หน่วยความจำ(แรม) ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) โดยเนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
         1.Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้า เช่น ข้อมูลที่ได้มาจากคีย์บอร์ด เป็นต้น โดยข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
         2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
         3. Output Storage Area  เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออกยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการเช่น จอภาพ เป็นต้น
         4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วนนี้ทีละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสั่งให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้น ๆหน่วยความจำจะจัดอยู่ในลักษณะแถวแนวตั้ง (CAS : Column Address Strobe) และแถวแนวนอน(RAS : Row Address Strobe) เป็นโครงสร้างแบบเมตริกซ์ (Matrix) โดยจะมีวงจรควบคุมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงจรในชิปเซต (Chipset) ควบคุมอยู่ โดยวงจรเหล่านี้จะส่งสัญญาณกำหนดแถวแนวตั้ง และสัญญาณแถวแนวนอนไปยังหน่วยความจำ เพื่อกำหนดตำแหน่งของข้อมูลในหน่วยความจำที่จะใช้งาน
          ในการเข้าถึงข้อมูลในหน่วยความจำของซีพียู สิ่งแรกที่ซีพียูได้รับในการเข้าถึงข้อมูล ก็คือ ซีพียูจะได้รับสัญญาณ RAS แล้วหลังจากนั้นซีพียูจะต้องใช้เวลาสักครู่เพื่อรอรับสัญญาณ CAS ซึ่งช่วงนี้ได้ถูกเรียกว่าRas to CAS Delay จะใช้เวลาประมาณ2-3 สัญญาณนาฬิกาและในไบออส (BIOS) จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถปรับค่านี้ได้ เช่น ปรับจาก 3 สัญญาณนาฬิกาให้เหลือ 2 สัญญาณนาฬิกา ซึ่งจะทำให้การเข้าถึงข้อมูลใน หน่วยความจำเร็วขึ้นแต่มีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้สูง โดยสัญญาณทั้ง 2 แบบนี้จะเป็นเหมือนที่อยู่หรือตำแหน่งเก็บข้อมูลที่ทำให้ซีพียูสามารถค้นหา ข้อมูลในหน่วยความจำได้อย่างถูกต้อง ในการคิดความเร็วของแรมที่ตัว Memory chip จะมีเลขรหัส เช่นHM411000-70 ตัวเลขหลัง (-) คือ ตัวเลขที่บอกความเร็วของ Ram ตัวเลขนี้ เรียกว่าAccess time คือ เวลาที่เสียไปในการที่จะเข้าถึงข้อมูล หรือ เวลาที่แสดงว่าข้อมูลจะถูกส่งออกไปทาง Data bus ได้เร็วแค่ไหนยิ่ง Access Time น้อยๆ แสดงว่า RAM ตัวนั้นเร็วมาก

จากหน้าที่และประโยชน์ของ RAM ข้างต้น ยิ่งเราติดตั้ง RAM เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์มาก ประสิทธิภาพและความเร็วในการรับและส่งข้อมูลจะดีขึ้นและเร็วขึ้นด้วย แต่ทั้งนี้การเลือก RAM ต้องคำนึงถึงความเร็วการรับส่งข้อมูล (BUS) ระบบปฏิบัติการ และความจุของ Slot ในเมนบอร์ดสำหรับเสียบ RAM ประกอบด้วย

              โดยสรุปอย่างย่อๆแล้ว  หลักการทำงานของ  RAM   คือดึงชุดคำสั่งที่จำเป็นต้องใช้ขึ้นมาจาก ฮาร์ดดิสก์  นำมาไว้บนส่วนเก็บชุดคำสั่ง  และถูกดึงไปแสดงผลต่อไป และเมื่อปิดโปแกรมหรือไม่มีไฟเลี้ยง ชุดคำสั่งนั้นจะหายไป  เช่น  เมื่อเราต้องการเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้ว  ส่งข้อมูลไปที่ CPU



ประเภทของ RAM

            Dynamic  Random  Access  Memory  (DRAM)

            DRAM  จะทำการเก็บข้อมูล  ให้คงอยู่โดยการ  refresh  นี้ทำให้เกิดการหน่วงเวลาขึ้นในการเข้าถึงข้อมูล  และก็เนื่องจากที่มันต้อง refresh  นี้ทำให้เกิดการหน่วงเวลาขึ้นในการเข้าถึงข้อมูล และก็เนื่องจากที่มันต้อง refresh ตัวเองอยู่ตลอดเวลานี้เองจึงเป็นเหตุให้ได้ชื่อว่า Dynamic RAM




Static Random Access Memory (SRAM)

            SRAM มีหลักการทำงาน เหมือนกับ DRAM จะต่างจาก DRAM ตรงที่ว่า DRAM ต้องทำการ รีเฟรช ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะที่ SRAM จะเก็บข้อมูล นั้น ๆไว้ และจะไม่ทำการ รีเฟรช โดยอัตโนมัติ ซึ่งมันจะทำการ รีเฟรช ก็ต่อเมื่อ สั่งให้เท่านั้น ซึ่งข้อดีก็คือความเร็ว ที่เร็วกว่า DRAM มาก แต่ก็ด้วยราคาที่สูงกว่ามาก จึงเป็นข้อด้อยของ SRAM




            หน่วยความจำชนิด DDR ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากมาตรฐาน DDR1  DDR2 และ DDR3 เพื่อให้หน่วยความจำสามารถทำงานร่วมกับเมนบอร์ดและซีพียูได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    

แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)



        แหล่งจ่ายไฟ  (Power Supply)

      เป็นอุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมติดตั้งอยู่ภายในตัวเคส (สามารถถอดเปลี่ยนได้) ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้านจาก 220 โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุดคือ 3.3 และ 5 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับวงจรชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ 12 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงพัดลมระบายอากาศ ด้วย
 

ปัจจุบันเพาเวอร์ซัพพลายที่จะนำมาใช้ควรมีกำลังไฟตั้งแต่ 400 วัตต์ขึ้นไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดที่ อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง สำหรับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้าน (ประเทศไทย) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 200-250 VAC พร้อมกระแสไฟประมาณ 3.0-6.0 A และความถี่ที่ 50Hz ดังนั้นเพื่อให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ เพาเวอซัพพลายจะต้องแปลงแรงดันไฟ AC ให้เป็น DC แรงดันต่ำในระดับต่างๆ รวมถึงปริมาณความต้องการของกระแสไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ ต่างๆด้วย โดยระดับของแรงดันไฟ (DC Output) ที่ถูกจ่ายออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายแต่ละรุ่น/ยี่ห้อจะใกล้เคียงกัน แต่ปริมาณสูงสุดของกระแสไฟ (Max Current Output) ที่ถูกจ่ายออกมานั้นอาจไม่เท่ากัน (แล้วแต่รุ่น/ยี่ห้อ) ซึ้งมีผลต่อการนำไปคำนวลค่าไฟโดยรวม (Total Power) ที่เพาเวอร์ซัพพลายตัวนั้น จะสามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆได้ด้วย โดยในที่นี้จะยกตัวอย่างรายละเอียดจากเพาเวอร์ซัพพลาย ที่ให้กำลังไฟโดยรวมประมาณ 600 วัตต์ (Watt) ซึ่งมีข้อมูลต่างๆดังนี้
แรงดันไฟ(DC Output) +3.3V ปริมาณกระแสไฟ (Current Output) 34 A ใช้กับ เมนบอร์ด และการ์ดจอ เป็นหลัก
แรงดันไฟ(DC Output)+5V ปริมาณกระแสไฟ (Current Output) 34 A ใช้กับ เมนบอร์ด, แรม และอุปกรณ์ดิสก์ไดร์รวมถึงพอร์ต ต่างๆ
แรง ดันไฟ(DC Output)+12V1และ +12V2 ปริมารกระแสไป (Current Output) 18A ใช้กับ ซีพียู, เมนบอร์ด, มอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงระบบระบายความร้อนต่างๆ ในที่นี้มาให้ 2 ชุด
แรงดันไฟ(DC Output) -12V ปริมาณกระแสไฟ (Current Output) 0.8 A ใช้ร่วมกับไฟ +12V เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ต่างๆ
แรง ดัน(DC Output) +5VSB ปริมาณกระแสไฟ(Current Output) 2.5 A เป็นแรงดันไฟสำรอง (Standby Voltage) ที่ใช้เปิดหรือปลุกการทำงานของเครื่องให้ตื่นขึ้นจากสภาวะเตรียมพร้อม (Stanby)


แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือ พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX
          1.AT เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้กันในประมาณ 4-5 ปีก่อน (พ.ศ. 2539) โดยปุ่ม เปิด-ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆ จะมีสวิตซ์ปิดเปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย)
          2.ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาจาก AT โดยเปลี่ยน ปุ่มปิด-เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่อง ทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง โดยมีรุ่นต่างๆดังนี้
          -ATX 2.01 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปที่ใช้ตัวถังแบบ ATX สามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ ATX และ Micro ATX
          - ATX 2.03 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ Server หรือ Workstation ที่ใช้ตัวถังแบบ ATX (สังเกตว่าจะมีสายไฟเพิ่มอีกหนึ่งเส้น ที่เรียกว่า AUX connector)
          - ATX 2.01 แบบ PS/3 ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวถังแบบ Micro ATX และเมนบอร์ดแบบ Micro ATX เท่านั้น
พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240 โวลต์โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์ อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ 220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ ระบบนี้เรียกว่า (Switching power supply ) และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ โดยจะผ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ ่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ โดยความสามารถพิเศษของ Switching power supply ก็คือ มีชุด Switching ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัวหนึ่งชำรุดเสียหาย หรือช็อตนั่นเอง
 http://computerdodee.blogspot.com/2009/11/power-supply.html



Tuesday, October 7, 2014

ซีพียู




 วิดีโอให้ความรู้หน่วยประมวลผลกลาง

ซีพียู (CPU-Central Processing Unit)
          ซีพียู หรือ ชิปประมวลผล คืออุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากอีกชิ้นหนึ่ง เปรียบเสมือนสมองหน่วยประมวลผล เป็นเสมือนสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ อ่านชุดคำสั่ง ตีความชุดคำสั่งจากการป้อนคำสั่งจากอุปกรณ์รับข้อมูล ประมวลผลชุดคำสั่ง อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ (memory) และเขียนข้อมูล ส่งผลการประมวลกลับประกอบด้วยหน่วยย่อย ดังนี้
       1. หน่วยควบคุม
       2. หน่วยคำนวณและตรรกะ
       3. หน่วยความจำหลัก


ลักษณะของซีพียู
          ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมแบนๆ มีจำนวนขาเล็กๆ ที่เป็นโลหะไว้สำหรับเชื่อมต่อกับสัญญาณภายในตัวซีพียูกับอุปกรณ์ภายนอกซึ่งจำนวน ขาจะแตกต่างกันตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียูซีพียูจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามการพัฒนาของเทคโนโลยีซึ่งไปอย่างรวดเร็วผู้อ่านต้องศึกษาเพิ่มเติม ตามวันเวลาในปัจจุบัน แต่ก็ขอนำมาประกอบให้ดูเป็นแนวทางในการศึกษา


หน่วยความจำแคช (Cache memory)
          หน่วยความจำความเร็วสูงที่เรียกว่า แคช เมโมรี (cache memory) มีบทบาทสำคัญมากในการทำงานของซีพียู เพราะยิ่งซีพียูเร็วขึ้น ก็จะทิ้งห่างหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า แรม (RAM) หรือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (random access memory) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน
          แคช เมโมรีมีบทบาทสำคัญมากในการทำงานของซีพียู เพราะซีพียูเร็วขึ้นมากขึ้นในปัจจุบัน หากไม่มีกลไกคอยช่วยในการพักข้อมูลและส่งต่อให้ซีพียูด้วยความเร็วสูงแล้วก็จะทำให้ซีพียูไม่มีข้อมูลหรือโปรแกรมที่จะทำงานต่อได้ทัน ทำให้เกิดการชะงักและความเร็วโดยรวมตกต่ำลงได้ แคชเมโมรีจึงเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ โดยซีพียูจะอ่านและเขียนข้อมูลโดยตรงกับแคชเป็นหลัก
          ถึงแม้แคชจะมีความเร็วสูงแต่ก็มีขนาดเล็กกว่า RAM  (เพราะทำด้วยวงจรความเร็วสูงซึ่งมีราคาแพงกว่า RAM ธรรมดามาก) ดังนั้นจึงต้องมีการเอาข้อมูลที่พักอยู่ในแคชนี้ออกเมื่อไม่ใช้แล้ว โดยจะทยอยส่งกลับมาที่ RAM เพื่อเปิดให้มีว่างสำหรับสลับเอาข้อมูลส่วนอื่นๆ ที่ซีพียูต้องการจะใช้ เข้าไปแทนที่
          หน่วยความจำ แคช นี้โดยมากจะมี 2  ระดับคือ แคชระดับ 1 หรือ Level 1 (L1 Cache) จะอยู่ภายในซีพียูและขนาดไม่ใหญ่ และแคชระดับ 2 หรือ Level 2 (L2 Cache) ซึ่งเมื่อก่อนจะทำด้วย Static RAM (S RAM) และอยู่บนเมนบอร์ด โดยมีขนาดใหญ่เช่น 256 หรือ 512 KB แต่ในซีพียูรุ่นใหม่ๆ ทั้งหมดได้ยุบ L2 Cache นี้กลับเข้าไปอยู่ภายในซีพียูหมดแล้ว โดยมีขนาดตั้งแต่ 128 KB ไปถึงหลาย MB นอกจากนี้บางซีพียูชนิด ยังสามารถมีแคชบนเมนบอร์ดเป็นแคชระดับ 3 (L3 Cache) ได้อีกด้วย


ชิปเซต (Chipset)
          Chipset หากแปลตามความหมายย่อมหมายถึง กลุ่มของชิป ที่ทำงานร่วมกัน ซึ่งมีความหลากหลายมาก เช่น การทำงานของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ต่างก็เกิดจากการทำงานร่วมกันของกลุ่มชิป เพื่อทำการรับส่งสัญญาณแบบไร้สาย ทั้งนี้ทั้งนั้น Chipset มักจะหมายถึง Chipset ในเครื่อง PC ซึ่งจะหมายถึง ชิพตัวกลางที่จะทำหน้าที่ในการติดต่อประสานงาน และควบคุมการทำงานต่างๆ ของเมนบอร์ด ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผู้จัดการของCPUและเป็นหัวใจของเมนบอร์ด กล่าวคือ chipset จะทำหน้าที่ทั้งควบคุมการทำงาน กลวิธีในการเชื่อมต่อ การรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก หรือ อุปกรณ์รับเข้า-ส่งออก (input/output device) หรือ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ นอกจากนี้ งานทุกอย่างที่ CPUไม่ได้ทำ ชิปเซ็ตจะเป็นผู้ทำ เช่น การควบคุมและเป็นทางผ่านของข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การส่งข้อมูลจากหน่วยความจำหลักไปยังCPU การส่งผ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ จากไดรฟ์ซีดีรอม รวมถึงการส่งข้อมูลของแผงวงจร (Card) ต่าง ๆ เช่น VGA Card, AGP Card, Sound Card ฯลฯ

ความเป็นมาและการทำงานของ Chipset 

            แต่เดิมนั้น Chipset ใน Computer มีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับตามการพัฒนาของความสามารถของ Computer เพื่อรองรับการเป็นตัวกลางเพื่อควบคุมการทำงานของ Computer ผ่านทาง Interface ต่างๆ ในยุคเริ่มแรกนั้น Chipset จะเป็นชิพตัวกลางเพียงชิพเดียว ไม่มีการแบ่งแยกเป็น Northbridge และ Southbridge เหมือนในปัจจุบัน เนื่องจากความเร็ว Clock ของ หน่วยประมวลผลกลางยังมีความเร็วที่ค่อนข้างต่ำอยู่ และความเร็วโดยรวมของ Interface อื่นๆยังอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ภายในชิพตัวเดียว แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป ความเร็วของอุปกรณ์ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น ตามกฏของมัวร์ (Moore's Law) ที่ว่าความเร็วของ CPU จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทุกๆ 18 เดือน จึงทำให้การรับส่งข้อมูลระหว่าง Interface ภายในคอมพิวเตอร์มีความเร็วที่เริ่มแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด และได้เริ่มมีการแยกการทำงานของ Interface ต่างๆโดยแบ่งแยกที่ความเร็วของ Interface โดยให้ Interface ที่มีความเร็วสูงทำงานร่วมกันผ่าน Chipset ชื่อ Northbridge และ Interface อื่นๆจะทำงานร่วมกันผ่าน Chipset ที่ชื่อ Southbridge นั่นเองในปัจจุบัน การทำงานของ Chipset ได้ถูกแบ่งออกมาเป็น 2 ส่วนหลักดังนี้
          1. Northbridge คือชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการติดต่อระหว่าง CPU, RAM, AGP หรือ PCI Express และ Southbridge ยกเว้น CPU รุ่นใหม่ ๆ บางตัวที่รวมการทำงานบางส่วนเข้าไปใน CPU แล้ว โดย Northbridges บางตัวก็ฝัง Video controllers เข้าไปด้วยเลยซึ่งคือ "การ์ดจอออนบอร์ด" (VGA on board) ที่มักจะเรียกกันบ่อยๆ
          2. Southbridge คือชิพที่จัดการเกี่ยวกับการรับ-ส่งข้อมูลภายนอก (input/output I/O) เช่น USB, serial , IDE, ISA โดย Southbridge จะส่งข้อมูลบน Internal Bus ของ Northbridge อีกต่อหนึ่ง