Monday, April 21, 2014

สแกนเนอร์ (Scanner)



 
          Scanner เป็นอุปกรณ์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่สามารถแปลงข้อมูลเอกสารให้เป็นไฟล์ข้อมูล ในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น นำรูปภาพจากเอกสารแปลงเป็นไฟล์รูปภาพในระบบคอมพิวเตอร์ หรือแปลงบทความจากนิตยสารเป็นไฟล์รูปภาพในระบบคอมพิวเตอร์ 
          ชนิดของเครื่องสแกนเนอร์
          สแกนเนอร์สามารถจัดแบ่งตามลักษณะทั่วๆไปได้ 2 ชนิด คือ
1.       Flatbed scanners ซึ่งใช้สแกนภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ต่างๆ
2.       สแกนเนอร์ ชนิดนี้มีพื้นผิวโปร่ง เช่น ฟิล์มและสไลด์
การทำงานของสแกนเนอร์
          การจับภาพของสแกนเนอร์ ทำโดยฉายแสงบนเอกสารที่จะสแกน แสงจะผ่านกลับไปมาและภาพ จะถูกจับโดยเซลล์ที่ไว้ต่อแสง เรียกว่า chage-couple device  หรือCCD ซึ่งโดยปกติพื้นที่มืดบน กระดาษจะสะท้อนแสงได้น้อยและพื้นที่ที่สว่างบนกระดาษจะสะท้อนแสงได้มากกว่า CCD จะสืบหาปริมาณแสงที่สะท้อนกลับ จากแต่ละพื้นที่ของภาพนั้น และเปลี่ยนคลื่นของแสงที่สะท้อน กลับมาเป็นข้อมูลดิจิตอล หลังจากนั้นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการสแกนภาพก็จะแปลงเอาสัญญาณเหล่านั้นกลับมาเป็นภาพ บนคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง
          การเชื่อมต่อของสแกนเนอร์
          สแกนเนอร์ใช้การเชื่อมต่อด้วย USB (Universal Serial Bus) เป็นขั้วต่อที่สามารถต่อกับช่อง USB ช่องใดก็ได้
          การใช้งานสแกนเนอร์
1.       เตรียมภาพต้นฉบับ ได้ทั้งข้อความ ภาพขาวดำ และภาพสี (สแกนเนอร์บางรุ่นสามารถ สแกนวัตถุ      3 มิติได้ เช่นกระป๋อง นาฬิกา เป็นต้น)
2.       เรียกโปรแกรมสแกนภาพ โปรแกรมสแกนภาพจะมาพร้อมกับเครื่องสแกนเนอร์
3.       นำภาพหรือวัตถุที่ต้องการสแกน วางบนกระจกของสแกนเนอร์ ปิดฝาของเครื่องสแกนเนอร์เพื่อป้องกันแสงภาพนอก
4.       ตั้งค่าการสแกนภาพ เช่น โหมดภาพ ขนาดภาพ และความละเอียด จากโปรแกรม
          - ภาพที่ต้องการนำไปใช้ในงานพิมพ์ ควรกำหนดความละเอียด 150-2400 จุด ต่อนิ้วแล้วแต่ลักษณะงาน
          - ภาพที่ต้องการใช้ในการสร้างเอกสารเว็บ ควรกำหนดความละเอียด 72 จุดต่อนิ้ว
          5.คลิกปุ่มเริ่มสแกน (แสดงด้วยคำว่า Preview หรือ Start Scan เป็นต้น) ช่วงนี้จะใช้เวลาพอสมควรสำหรับสแกนเนอร์บางรุ่น ทั้งนี้ระหว่างที่สแกนเนอร์ทำงาน ไม่ควรขยับภาพหรือวัตถุ
          6.เมื่อเครื่องทำการสแกนภาพต้นฉบับ ภาพจะปรากฏบนหน้าต่างโปรแกรม ผู้ใช้สามารถกำหนดหรือเลือกขอบเขตที่ต้องการได้ หลังจากนั้นคลิกปุ่ม Final หรือ Save (ตามแต่ระบบ)
          7.สำหรับการสแกนแบบบันทึกผลลัพธ์เป็นไฟล์ มีหลักพิจารณาดังนี้ หากต้องการนำภาพนั้นไปใช้เป็นภาพต้นฉบับสำหรับงานสิ่งพิมพ์ และมีพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์เหลือจำนวนมาก แนะนำให้บรรทุกไฟล์ภาพด้วยฟอร์แมต TIF เนื่องจากจะได้ไฟล์ภาพที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วน แต่ถ้าต้องการภาพเพื่อประกอบเอกสารเว็บโดยเฉพาะ สามารถเลือกฟอร์แมตเป็น JPEG ได้เลย ซึ่งจะช่วยประหยัดพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ได้ ในที่นี้ของแนะนำให้ใช้ฟอร์แมต IPEG

การเชื่อมต่อระบบเน็ตเวิร์ก



 
          การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับโมเด็มเราเตอร์มีอยู่ 2 แบบ
          1.แบบใช้สาย โดยมากมักต่อด้วยสายขั้วแบนเล็กๆ (ใหญ่กว่าสายโทรศัพท์เล็กน้อย) ที่เรียกว่า UTP (Unshielded Twisted Pair)  หรือปัจจุบันเรียกกันตามมาตรฐานของสานที่ใช้ว่าสาย CAT-5 (Category 5 X) ทุกเครื่องจะต่อเข้าหากล่องโมเด็มเราเตอร์
         2.แบบการเชื่อมต่อแบบไร้สายโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูง ระบบนี้เรียกว่า Wireless LAN แบบไร้สายหรือ ไวเลสแลน (Wireless LAN,  WLAN) คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่แบบไร้สาย โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุใน การเชื่อมต่อหรือสื่อสารกัน การเชื่อมต่อแลนไร้สายมีทั้งแบบเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านอุปกรณ์กระจายสัญญาณ แอคเซสพอยต์ (Access Point) ซึ่งแอดเซสพอยต์ ก็ได้เข้าไปรวมอยู่ในโมเด็มเราเตอร์เช่นกัน

เครือข่าย





          เครือข่ายหรือ  เน็ตเวิร์ก (Network) ก็คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารชนิดต่างๆ ที่นำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้เครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันในเครือข่ายได้ ตัวอย่างของเครือข่ายที่เราคุ้นเคย ได้แก่เครือข่ายของโทรศัพท์ เครือข่ายดาวเทียม เครือข่ายวิทยุ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยช่องทางที่ใช่ในการติดต่อสื่อสารกัน เรียกว่า ช่องสัญญาณ (computer network)

          การสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) ก็คือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป มาเชื่อมตัวกันด้วยสายเคเบิล โดยมี Adapter Card และ Software ช่วยในการทำงานของระบบเครือข่าย

          ขนาดของเครือข่าย

          เครือข่ายมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้านหรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายระดับโลกที่ครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศ ปัจจุบันเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดก็คือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

          อุปกรณ์เครือข่าย จึงเป็นได้ทั้งอุปกรณ์การนำเข้าข้อมูลและเป็นอุปกรณ์ส่งออกข้อมูลไปในเวลาเดียวกัน

          การ์ดเน็ตเวิร์ก

          การ์ดเน็ตเวิร์กหรือการ์ด LAN เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล การ์ดเน็ตเวิร์กจะอยู่ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดยติดตั้งอยู่บนแผนวงจรหลักโดยเสียบในสล็อต แบบ PCI ที่เป็น 32 บิต ซึ่งมักจะเป็นแบบ Plug  and Play ที่ Windows จะเช็ตค่าต่างๆ ให้เองโดยอัตโนมัติ แต่โดยทั่วไปการ์ดเน็ตเวิร์กจะรวมอยู่ในแผนวงจรหลักแล้ว

เมาส์ (Mouse)




          เมาส์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ (pointing device) เป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน ต่างๆกัน บางรุ่นมีไฟประดับให้สวยงาม เพื่อให้เมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความชื่นชอบของผู้ใช้ เช่นมีขนาดเล็ก มีส่วนโค้งและส่วนเว้าเข้ากับอุ้งมือของผู้ใช้ มีรูปร่างสีสันแปลกตาไปจากรุ่นทั่วๆไป หรือเป็นรูปตัวการ์ตูน และล่าสุดได้มีการพัฒนา เมาส์อากาศ (Air Mouse) ซึ่งสามารถใช้งานเมาส์โดยถือขึ้นมาเอียงไปมาในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง ก็สามารถควบคุมตัวชี้ได้เช่นกัน

        การทำงานของเมาส์ ภายในตัวเมาส์จะมีอุปกรณ์สำหรับตรวจจับตำแหน่งการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้งยาง(สำหรับรุ่นเก่า)หรืออุปกรณ์ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแสง (ในเมาส์ที่ใช้แอลอีดีหรือเลเซอร์เป็นแหล่งกำเนิดแสง) โดยตัวตรวจจับจะส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของตัวชี้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ คือ

1.       แบบกลไก (MechanicalX) เป็นแบบที่มีลูกบอลกลมๆ อยู่ข้างใต้เพื่อคอยเปลี่ยนการลาก เมาส์ให้เป็นการหมุน และส่งสัญญาณไปยังล้อกลไกที่หมุนตัดลำแสงภายในตัวปัจจุบันได้เลิกใช้แล้ว

2.       แบบใช้แสง (Optical) จะใช้แสงส่องลงไปที่พื้นแล้วสะท้อนกลับมาที่ตัวรับเพื่อวัดการเลื่อน ตำแหน่งซึ่งข้อดีคือ ไม่มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหวที่จะขัดข้องหรือสกปรก แต่เดิมต้องใช้กับแผ่นรอง (mouse pad) ที่เป็นลวดลายพิเศษจึงจะทำงานได้ แต่รุ่นใหม่จะใช้บนพื้นผิวใดๆ ก็ได้ โดยมีซีพียูในเมาส์ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นผิวที่สะท้อนกลับมาเอง